Last updated: 1 เม.ย 2564 | 660 จำนวนผู้เข้าชม |
Porsche AG สร้างสถิติใหม่ด้วยยอดรายรับในปีงบประมาณ 2020 จากมูลค่าที่เติบโตเพิ่มขึ้นถึง 28.7 พันล้านยูโร แซงหน้าผลงานของปีที่แล้วไปเป็นจำนวนเงินมากกว่า 100 ล้านยูโร ในส่วนของผลการดำเนินงานทำได้ที่ 4.2 พันล้าน ยูโร เมื่อเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมาอยู่ที่ 4.4 พันล้านยูโร ก่อนหักค่าใช้จ่ายพิเศษ และ 3.9 พันล้านยูโร หลักหักค่าใช้จ่ายพิเศษ ผลตอบแทนจากการขายมีสัดส่วนที่ 14.6 เปอร์เซ็นต์ในปี 2020 บรรลุเป้าหมายกลยุทธ์การดำเนินงานตามทิศทางที่กำหนดไว้ แม้จะเป็นการทำงานภายใต้สภาวะความกดดันของเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก ความแข็งแกร่งของบริษัท ที่ต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2019 แทบจะไม่มีความเปลี่ยนแปลง ยกเว้นแค่เพียงการหยุดสายการผลิตเป็นการชั่วคราวเท่านั้นในภาพรวม ปอร์เช่สามารถส่งมอบรถยนต์ใหม่ไปยังลูกค้าทั่วโลกได้มากกว่า 272,000 คัน นับเป็นตัวเลขที่ลดลงเพียง 3 เปอร์เซ็นต์เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2019 ซึ่งนับเป็นผลงานที่ดีที่สุด ผลกำไรก่อนภาษีอยู่ที่ 4.4 พันล้านยูโร เพิ่มขึ้นจากปี 2019
“ปีงบประมาณ 2020 คือ ปีแห่งความสำเร็จสำหรับปอร์เช่ ถึงแม้ว่าจะต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่เต็มไปด้วยความท้าทาย” ข้างต้นคือคำกล่าวจาก Oliver Blume ประธานกรรมการบริหารของ Porsche AG “ความสำเร็จนี้มาจากเหตุผล 4 ประการด้วยกันได้แก่ ผลิตภัณฑ์ยานยนต์ที่ยอดเยี่ยมของเราทุกรุ่น, รถยนต์พลังงานไฟฟ้าที่น่าตื่นตาตื่นใจ, ความแข็งแกร่งของบริษัทในเชิง นวัตกรรม และการกำหนดแนวทางการดำเนินงานอันชาญฉลาดท่ามกลางสภาวะวิกฤตสำหรับ ไทคานน์ (Taycan) รถสปอร์ตพลังงานไฟฟ้าสมบูรณ์แบบคันแรกของปอร์เช่ สามารถสร้างยอดจำหน่ายได้มากกว่า 20,000 คัน ส่งผลให้กลายเป็นรถยนต์ไฟฟ้าที่ประสบความสำเร็จสูงสุดในระดับเดียวกัน รถคันนี้สามารถครอบครองรางวัลระดับนานาชาติ มากกว่า 50 รางวัลเหนือสิ่งอื่นใด ไทคานน์ (Taycan) ได้รับการยกย่องในฐานะ ‘world’s most innovative car’ ปอร์เช่ยึดมั่นในแนวทางหลักของการดำเนินธุรกิจอย่างเข้มแข็ง ปฏิบัติหน้าที่ตามหลักการสำคัญของบริษัทเพื่อรับผิดชอบต่อสังคม และสรรค์สร้างนวัตกรรมเทคโนโลยีที่เหนือชั้น”
“เรามีความภาคภูมิใจมากต่อแนวทางการทำธุรกิจของเรา” Lutz Meschke รองประธาน และสมาชิกคณะกรรมการบริหาร ผู้กำกับดูแลส่วนงานการเงิน และเทคโนโลยีสารสนเทศของ Porsche AG กล่าวเสริม “แม้ว่าจะต้องพบกับความ
ท้าทายมากมาย แต่เรายังคงบรรลุเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ตามแนวทางที่กำหนดไว้ ด้วยตัวเลขผลตอบแทนจากการขายถึง 14.6 เปอร์เซ็นต์” สิ่งที่ทำให้ปอร์เช่สร้างสถิติใหม่ได้ ถึงแม้จะต้องเผชิญกับสถานการณ์โลกที่ยากลำบาก คือการจัดการระบบการบริหารต้นทุน และสภาพคล่องทางการเงินอย่างมีประสิทธิภาพ “สิ่งสำคัญที่เราต้องคำนึงถึงเป็นอันดับแรกในสภาวะวิกฤติคือสภาพคล่องทางการเงิน เราจำเป็นต้องปรับลดต้นทุนลง ในทุกภาคส่วนให้เหลือน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้” สิ่งที่ปอร์เช่ลงมือได้ทำไม่ได้ส่งผลกระทบต่อทิศทางการดำเนินกลยุทธ์ในระยะยาวขององค์กร “เราไม่ได้ลดต้นทุนทั้งหมดสำหรับโครงการในอนาคต เรายังคงเดินหน้าอย่างเต็มที่สำหรับการเปลี่ยนแปลงการก้าวเข้าสู่โลกดิจิทัลและพลังงานไฟฟ้า การพยายามปรับลดค่าใช้จ่ายในส่วนงานดังกล่าวข้างต้น จะส่งผลอย่างรวดเร็วต่อการสูญเสียขีดความสามารถในการแข่งขัน การบริหารจัดการ ต้นทุน และสภาพคล่องของเราก่อให้เกิดบรรทัดฐานใหม่ เรารักษาธุรกิจเอาไว้ได้เป็นอย่างดี ดังนั้นเราจึงสามารถรุกตลาด ได้อย่างเต็มพิกัดทันทีที่วิกฤติการณ์นี้สิ้นสุดลง”
โปรแกรมส่งเสริมความสามารถในการสร้างผลกำไร
นับเป็นอีกครั้งที่ปอร์เช่ สนับสนุนให้เกิดโครงการ “Profitability Programme 2025” “จุดมุ่งหมายใหม่ของเรา คือการพัฒนาเพิ่มตัวเลขผลตอบแทนสะสมให้มากกว่า 1 หมื่นล้านยูโร ภายในปี 2025 และสะสมได้ 3 พันล้านยูโรต่อปี หลังจากนั้น Lutz Meschke ยืนยัน สิ่งสำคัญที่สุดเกี่ยวกับโปรแกรมการสร้างผลกำไรคือ มันไม่ได้เป็นเพียงแผน การประหยัดค่าใช้จ่าย แต่ยังหมายถึงโครงการสร้างสรรค์นวัตกรรมต่างๆ ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับการลดต้นทุนใดๆ มันคือการมองโลกอย่างชาญฉลาดในทุกกระบวนการ พร้อมทั้งพัฒนาความคิดด้านธุรกิจใหม่ๆ ของเรา ภายใต้สภาพแวด ล้อมทางการตลาดที่ยากลำบาก ปอร์เช่สามารถรักษาจำนวนบุคลากรอย่างมีเสถียรภาพไว้ได้ประมาณ 36,000 อัตรา พนักงานของเราไม่จำเป็นต้องมีเรื่องให้กังวลใจ เราสรุปรวมเอาข้อตกลงด้านความมั่นคงในอาชีพซึ่งสามารถรับประกัน การมีงานทำของกำลังพลหลักทั้งหมดจนกระทั่งปี 2030 เราไม่มีการลดอัตราจ้างงาน หรือตัดบริษัทย่อยใดๆ ออกทั้งสิ้นในทางกลับกันเรากำลังลงทุนเพื่อพัฒนาศักยภาพของบุคลากรให้มีความพร้อมเพื่อรองรับการเติบโตในอนาคตผลตอบแทนที่ได้คือ ปอร์เช่มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นรวมทั้งลดอุปสรรคในการทำกำไรลง เราต้องการที่จะบรรลุเป้าหมายกลยุทธ์ด้วยอัตราผลตอบแทนจากการขายที่ 15 เปอร์เซ็นต์ในปี 2021 ต่อให้สถานการณ์ เศรษฐกิจโลกจะย่ำแย่แค่ไหนก็ตาม”
ปอร์เช่ ตั้งเป้าลดปริมาณมลภาวะ climate-neutral balance sheet จนถึงปี 2030
ด้วยการคำนึงถึงผลของการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศอย่างต่อเนื่อง Porsche AG ได้กำหนดจุดยืนของบริษัทเพิ่มเติมอีกหนึ่งพันธะสัญญา “ความยั่งยืน คือหนึ่งองค์ประกอบสำคัญของแผนกลยุทธ์ 2030 – นั่นคือการพัฒนาแบบ องค์รวม ไม่ว่าจะในเชิงเศรษฐกิจ, สิ่งแวดล้อม และสังคม เราเริ่มต้นโครงการลดของเสีย comprehensive decarbonisation programme โดยจัดตั้งให้เป็นหนึ่งในเป้าหมายหลักขององค์กร ปอร์เช่ ต้องการเป็นบริษัทที่ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะจากก๊าซคาร์บอนไดร์ออกไซด์ตลอดทั้งห่วงโซ่คุณค่าก่อนปี 2030 เราจะบรรลุเป้าหมายนี้ ด้วยการหลีกเลี่ยงการสร้างและลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดร์ออกไซด์อย่างเป็นระเบียบในทุกสายการผลิตหลักของเรา ตัวอย่างเช่น
Zuffenhausen, Weissach และ Leipzig ปราศจากการก่อสารก๊าซคาร์บอนไดร์ออกไซด์ตั้งแต่ปี 2021 เป็นต้นมา เราได้จัดสรรงบประมาณเพื่อการนี้มากกว่าหนึ่งพันล้านยูโร สำหรับการลดมลภาวะตลอดระยะเวลา 10 ปีต่อจากนี้ เราได้ถึงจุดหมายแรกของเรา ปอร์เช่ ไทคานน์ ครอส ทัวริสโม ใหม่ (The new Taycan Cross Turismo) ซึ่งเปิดตัวไปเมื่อต้นเดือนมีนาคม คือรถยนต์คันแรกที่ออกจากสายการผลิตซึ่งปราศจากมลภาวะของก๊าซคาร์บอนไดร์ออกไซด์ในทุกกระบวนการ” Oliver Blume กล่าวสรุป
ในปี 2020 1 ใน 3 ของรถยนต์ปอร์เช่ที่จำหน่ายในทวีปยุโรป คือรถยนต์พลังงานไฟฟ้าหรือกึ่งพลังงานไฟฟ้า คิดเป็นสัดส่วนประเภทรถยนต์ดังกล่าวในตลาดโลกอยู่ที่ 17 เปอร์เซ็นต์ ในปี 2025 ครึ่งหนึ่งของรถยนต์ใหม่ที่จะถูกวาง จำหน่ายจะมีมอเตอร์ไฟฟ้าเป็นส่วนประกอบ และในปี 2030 มากกว่า 80 เปอร์เซ็นต์จะเป็นรถยนต์ไฟฟ้า
สำหรับปอร์เช่ กิจกรรมการดูแลสังคมยังคงดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง ภายใต้ร่มเงาของแนวทางการบริหารจัดการเพื่อการ พัฒนาอย่างยั่งยืนสำหรับตอบสนองนโยบายดังกล่าวบริษัทได้ก่อตั้งโครงการ “Porsche helps” ขึ้นในช่วงวิกฤติการณ์การระบาด ของเชื้อไวรัสโคโรน่า โดยสนับสนุนให้บุคลากรสละเวลาหรือบริจาคทุนทรัพย์แบ่งปันให้แก่โครงการ การกุศลทั้งหลาย วัตถุประสงค์เพื่อช่วยลดความรุนแรงและผลกระทบของการแพร่ระบาด ทั้งนี้ปอร์เช่จะบริจาค สมทบทุนเป็นจำนวนเงิน 5 ล้านยูโร รวมทั้งบริจาคอาหารให้แก่องค์กร Tafel organisations เพิ่มขึ้นอีก 2 เท่าตัว
เปิดเกมรุก เพิ่มยอดจำหน่ายด้วยความแข็งแกร่ง
เมื่อพิจารณาถึงยอดส่งมอบรถยนต์ใหม่ ปอร์เช่ยืนบนสถานะที่เข้มแข็งอย่างยิ่งในตลาดโลกจำนวนรถสปอร์ตที่ส่งถึงมือ ลูกค้ายังคงเติบโตด้วยเสถียรภาพ โดยรุ่นที่มีความต้องการสูงที่สุดคือ คาเยนน์ (Cayenne) ทำยอดจำหน่ายรวมไปได้ถึง 92,860 คัน คิดเป็นสัดส่วนเพิ่มขึ้น 1 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อนหน้า สำหรับ ไทคานน์ (Taycan) มียอดส่งมอบรวม 20,015 คันในปี 2020 – ถึงแม้จะมีความจำเป็นต้องหยุดสายการผลิตชั่วคราวเป็นระยะเวลา 6 สัปดาห์ ในช่วงฤดูใบไม้ผลิ และเป็นช่วงการเริ่มต้นการผลิตรถยนต์รุ่นใหม่ซึ่งมีความต้องการสูงในช่วงแรกของการเปิดตัว ประเทศจีนยังคงเป็นตลาดที่มียอดจำหน่ายสูงที่สุดของปอร์เช่ จากตัวเลขลูกค้าใหม่ในจีน 88,968 คัน ตลอดปี 2020 – หรือเพิ่มขึ้น 3 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับปี 2019 ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก, ตะวันออกกลาง และแอฟริกา มีการเติบโตด้านยอดขายในทิศทางบวกอย่างต่อเนื่อง ตัวเลขรวมในปี 2020 ทำได้ที่ 121,641คัน เพิ่มขึ้นถึง 4 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันกับปีก่อนหน้า ส่วนทวีปยุโรปปอร์เช่ทำยอดจำหน่ายรวมได้ที่ 80,892 คัน สำหรับประเทศสหรัฐอเมริกาอยู่ที่ 69,629 คัน