งานแสดงสุดต้าช “Pulse Topology” ของศิลปินลูกครึ่งแคนาคา-เม็กซิกัน Rafael Lozano-Hemmer

Last updated: 27 มิ.ย. 2565  |  664 จำนวนผู้เข้าชม  | 

งานแสดงสุดต้าช “Pulse Topology” ของศิลปินลูกครึ่งแคนาคา-เม็กซิกัน Rafael Lozano-Hemmer


จบกันไปหมาดๆ กับงานแสดงศิลปะที่เก่าแก่และยิ่งใหญ่ตระการตาที่สุดงานหนึ่งของโลกกับ Art Basel ที่ปีนี้จัดขึ้นระหว่างวันที่ 14-19 มิ.ย. ที่ผ่านมา ณ เมืองบาเซิล ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ไฮไลท์ของงานปีนี้ต้องยกให้กับงานแสดงสุดต้าช “Pulse Topology” ของศิลปินลูกครึ่งแคนาคา-เม็กซิกัน Rafael Lozano-Hemmer


ผลงานสุดปังชิ้นนี้ นับเป็นครั้งแรกที่ได้รวมเอาหลอดไฟนับ 6,000ดวง แขวนห้อยจากเพดานครอบคลุมพื้นที่จัดแสดงหลายพันตารางเมตรเหมือนผู้ชมถูกโอบล้อมด้วยดวงดาวที่กว้างไกลสุดสายตา ไฟแต่ละดวงถูกจัดวางสูงต่ำไว้ไม่เท่ากันมีความไดนามิกเหมือนลอยตัวอยู่นอกอวกาศ หลอดไฟแต่ละหลอดถูกเชื่อมโยงกับระบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้ควบคุมแสงสว่างของแต่ละหลอดได้อิสระเพื่อสอดคล้องกับฟีเจอร์ลูกเล่นต่างๆ ภายในรถ The New BMW i7 ที่ถูกจัดแสดงร่วมกันให้รับจังหวะอย่างตระการตา แถมคอมพิวเตอร์ที่ควบคุมยังเชื่อมต่อเข้ากับจังหวะการเต้นของหัวใจผู้เข้าชมงานเพื่อกระตุ้นจังหวะควบคุมแสงและ การกระพริบของหลอดไฟเข้าไปอีกด้วย! อะไรจะล้ำขนาดนั้น Rafael Lozano-Hemmer "เล่าว่าเขาได้แรงบันดาลใจจากการที่ BMW ออกแบบแสงสีในรถยนต์ไฟฟ้า 100% คันนี้ โดยเน้นคนขับและผู้โดยสารเป็นศูนย์กลาง เขาจึงตั้งใจให้ผู้เข้าชมงานกลายเป็นส่วนหนึ่งของชิ้นงานครั้งนี้ ด้วยการจับจังหวะหัวใจของพวกเขาและนำมาควบคุมแสง เสียง และภาพกราฟิกบนจอพาโนมาราใน The New BMW i7"

 


Rafael Lozano-Hemmer มีความสนใจทั้งด้านวิทยาศาสตร์และศิลปะ เขาเรียนจบเคมีเชิงฟิสิกส์จากแคนาดา ส่วนทีมงานในสตูดิโอของเขาครึ่งหนึ่งก็เป็นโปรแกรมเมอร์ นักออกแบบระบบอิเล็กทรอนิกส์ นักออกแบบอุตสาหกรรม และวิศวกรเครื่องกล ส่วนอีกครึ่งหนึ่งเป็นนักแต่งเพลง สถาปนิก นักประวัติศาสตร์ศิลปะ และจิตรกร 


 

ชมคลิปวิดีโอและบทสัมภาษณ์ฉบับเต็มของ Rafael Lozano-Hemmer ได้ที่ https://b.mw/artbasel-pulsetopology

 

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้